3M Hairtransplant Hairmaster

ปัญหาผมร่วง รักษาได้อย่างไรบ้าง?

ปัญหาผมร่วง

ปัญหาผมบาง หัวล้าน เป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระต่อความมั่นใจของใครหลาย ๆ คน การปลูกผมจึงเป็นทางออกที่ตอบโจทย์ สำหรับปัญหาเหล่านี้ ซึ่งการย้ายรากผมเป็นการผ่าตัดขนาดเล็ก เพื่อแก้ไขปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ไม่เป็นอันตราย แต่ต้องอาศัยฝีมือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการทำหัตถการนี้ เพราะต้องกำหนดทิศทางของผมให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด ที่สำคัญคือเทคนิคในการย้ายเส้นผมจากจุดหนึ่งมาอีกจุดหนึ่งในมีอัตราการรอดสูงสุดค่ะ

หากคุณกำลังพบกับปัญหาผมร่วง คุณไม่ได้เป็นคนเดียว เนื่องจากปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่พบได้กับหลาย ๆ คนทั่วโลก ดังนั้นข้อมูล และแนวทางในบทความนี้อาจจะช่วยให้คุณเข้าใจปัญหา และมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับปัญหาผมร่วง

วงจรการเติบโตของเส้นผม

วงจรการเจริญเติบโตของเส้นผม

วงจรการเจริญเติบโตของเส้นผมแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

  • ระยะการเจริญเติบโต (Anagen phase) เป็นระยะที่เส้นผมเจริญเติบโตเต็มที่ เส้นผมจะงอกยาวขึ้นประมาณ 1 เซนติเมตรต่อเดือน ระยะนี้กินเวลาประมาณ 2-6 ปี
  • ระยะหยุดการเจริญเติบโต (Catagen phase) เป็นระยะที่เส้นผมหยุดการเจริญเติบโต เส้นผมจะหยุดยาวขึ้นและเริ่มลีบบางลง ระยะนี้กินเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์
  • ระยะหลุดร่วง (Telogen phase) เป็นระยะที่เส้นผมหลุดร่วง เส้นผมจะหลุดร่วงไปประมาณ 100 เส้นต่อวัน ระยะนี้กินเวลาประมาณ 3-4 เดือน

เส้นผมแต่ละเส้นจะอยู่ในวงจรการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน เส้นผมประมาณ 85 – 90% ของเส้นผมทั้งหมดจะอยู่ในระยะการเจริญเติบโต เส้นผมประมาณ 10 – 15% ของเส้นผมทั้งหมดจะอยู่ในระยะหยุดการเจริญเติบโต และเส้นผมประมาณ 5% ของเส้นผมทั้งหมดจะอยู่ในระยะหลุดร่วง หากเส้นผมอยู่ในระยะการเจริญเติบโตนานขึ้น เส้นผมก็จะยาวขึ้น หากเส้นผมอยู่ในระยะหยุดการเจริญเติบโตนานขึ้น เส้นผมก็จะลีบบางลง หากเส้นผมอยู่ในระยะหลุดร่วงนานขึ้น เส้นผมก็จะหลุดร่วงมากขึ้น

สาเหตุของผมร่วง

สาเหตุของผมร่วง

ผมร่วงเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในผู้ชาย และผู้หญิง มีหลายสาเหตุที่อาจทำให้เกิดผมร่วงได้ ได้แก่

  • พันธุกรรม: พันธุกรรมเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของผมร่วง ผู้ชายที่มีประวัติผมร่วงในครอบครัวมีแนวโน้มที่จะผมร่วงมากกว่าผู้ชายที่ไม่มีประวัติผมร่วงในครอบครัว
  • ฮอร์โมน: ฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่าเทสโทสเตอโรนมีส่วนเกี่ยวข้องกับผมร่วง เทสโทสเตอโรนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนอีกตัวหนึ่งที่เรียกว่าไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT) ซึ่งสามารถทำลายรากผม และทำให้ผมร่วงได้
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน การตั้งครรภ์ และการให้นมบุตร อาจทำให้เกิดผมร่วงได้
  • โรคบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ, โรคลูปัส, โรคโลหิตจาง ซึ่งโรคเหล่านี้ทำให้ระบบร่างกายทำงานผิดปกติ และไปรบกวนวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผม ทำให้การเติบโตหยุดชะงักเป็นเหตุให้มีผมร่วงเป็นจำนวนมาก 
  • ยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด, ยาต้านการอักเสบ, ยาคุมกำเนิด, รวมไปถึงวิตามิน หากร่างกายได้รับในปริมาณที่มากเกินไป โดยที่ร่างกายไม่จำเป็นต้องได้รับจะส่งผลให้ไประงับการเติบโตของรากผม ทำให้เกิดผมร่วงได้ค่ะ
  • ภาวะขาดสารอาหาร มักเกิดกับผู้ที่ลดน้ำหนักผิดวิธี ทำให้น้ำหนักลงมาก ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ ในบางรายมีภาวะขาดสารอาหารจำพวก ขาดธาตุเหล็ก, ขาดสังกะสี, ขาดวิตามินบี 12 ซึ่งทำให้เส้นผมอ่อนแอ และอาจทำให้เกิดผมร่วงได้
  • ปัจจัยทางจิตวิทยา ความเครียด, ความวิตกกังวล, ภาวะซึมเศร้า ในบางรายมีการดึงผม หรือถอนผมตัวเองโดยไม่รู้ตัว มักพบในกลุ่มคนที่มีความเครียด ซึ่งเหตุให้เส้นผมถูกทำลาย นำไปสูการสูญเสียรากผมแบบถาวรได้ค่ะ
ผมร่วงเกี่ยวกับพันธุกรรมไหม

ผมร่วงเกี่ยวกับพันธุกรรมไหม

แน่นอนว่าสาเหตุของผมร่วงตั้งแต่อายุยังน้อย สาเหตุมักมาจากพันธุกรรมมากกว่าปัจจัยอื่น ๆ พันธุกรรมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดผมร่วงได้ ประมาณ 80% ของผู้ชายที่มีอาการผมร่วงจะมีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม ในกรณีของผู้หญิง ประมาณ 30 – 50% ของอาการผมร่วงจะมีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม 

พันธุกรรมที่ส่งผลต่อผมร่วงจะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ฮอร์โมนนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT) ซึ่งจะเข้าไปทำลายรากผม ทำให้ผมร่วง และบางลง

ผมร่วงแค่ไหนถึงต้องรักษา

ผมร่วงแค่ไหนถึงต้องรักษา

ผมร่วงเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในผู้ชายและผู้หญิง สาเหตุของผมร่วงมีมากมาย เช่น กรรมพันธุ์ การขาดสารอาหาร ฮอร์โมน ยาบางชนิด ภาวะเครียด และโรคต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วผู้ชายจะมีอาการผมร่วงมากกว่าผู้หญิง แต่ผู้หญิงก็สามารถมีอาการผมร่วงได้เช่นกัน

หากผมร่วงมากกว่าปกติ อาจทำให้รู้สึกกังวลและขาดความมั่นใจ การรักษาผมร่วงมีหลายวิธี เช่น การใช้ยา การรักษาด้วยเลเซอร์ การปลูกผม และการผ่าตัด การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของผมร่วง ลักษณะอาการเหล่านี้ที่อาจบ่งชี้ว่าถึงเวลาต้องรักษาผมร่วงแล้ว ผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน ,ผมร่วงเป็นกระจุก, ผมร่วงจากบริเวณที่มองเห็นได้ชัดเจน เช่น ศีรษะด้านหน้าหรือด้านบน ผมร่วงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน, ผมร่วงทำให้คุณรู้สึกวิตกกังวลหรือขาดความมั่นใจ

การรักษาผมร่วงด้วยวิธี-PRP

การรักษาผมร่วงด้วยวิธี PRP

PRP (Platelet Rich Plasma) เป็นการรักษาผมร่วงที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน PRP เป็นการนำเกล็ดเลือดของผู้ป่วยเองมาฉีดเข้าสู่หนังศีรษะ ซึ่งเกล็ดเลือดนี้จะมีสาร growth factor ที่จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม ทำให้เส้นผมแข็งแรงขึ้น ลดการหลุดร่วง ผลการรักษาของ PRP นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนภายใน 3 – 6 เดือน และผลลัพธ์จะคงอยู่นานประมาณ 1 – 2 ปี

PRP เป็นการรักษาที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วงจากกรรมพันธุ์ หรือผู้ที่มีปัญหาผมขาดหลุดร่วงหลังคลอดบุตร PRP สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการรักษาเพื่อประเมินว่า PRP เหมาะสำหรับคุณหรือไม่

ขั้นตอนการทำ PRP นั้นไม่ซับซ้อน ใช้เวลาประมาณ 30 – 60 นาที แพทย์จะทำการเจาะเลือดจากผู้ป่วยประมาณ 10 – 20 มิลลิลิตร จากนั้นจะนำเลือดไปปั่นแยกเกล็ดเลือดออกมา เกล็ดเลือดที่ได้จะถูกนำไปผสมกับสาร growth factor แล้วฉีดเข้าสู่หนังศีรษะบริเวณที่มีปัญหาผมขาดหลุดร่วง

รักษาผมร่วงด้วยการปลูกผม

รักษาผมร่วงด้วยการปลูกผม

การปลูกผมเป็นวิธีรักษาผมร่วงที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน การปลูกรากผมเป็นการผ่าตัดที่ย้ายรากผมจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง ซึ่งเทคนิคที่นิยมมากที่สุดคือ FUT (Follicular Unit Transplantation) และ FUE (Follicular Unit Extraction)

การปลูกผมแบบ FUT (Follicular Unit Transplantation)

เทคนิคแบบ FUT เป็นการย้ายรากผมโดยการตัดแถบหนังศีรษะจากบริเวณด้านหลังศีรษะ จากนั้นจึงนำรากผมออกมาทีละกอ แล้วนำไปปลูกในบริเวณที่ล้าน หรือบาง เทคนิคแบบ FUT ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง ผลลัพธ์ของเทคนิคแบบ FUT ค่อนข้างดี แต่แผลผ่าตัดอาจเห็นรอยแผลเป็นได้

การปลูกผมแบบ FUE (Follicular Unit Extraction)

เทคนิคแบบ FUE เป็นการย้ายรากผมโดยการใช้เครื่องมือเจาะรูเล็ก ๆ บนหนังศีรษะ จากนั้นจึงนำรากผมออกมาทีละกอ แล้วนำไปปลูกในบริเวณที่ล้าน หรือบาง เทคนิคแบบ FUE ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง ผลลัพธ์ของเทคนิคแบบ FUE ค่อนข้างดี และไม่มีแผลผ่าตัดให้เห็น

การเตรียมตัวก่อนปลูกผม

การเตรียมตัวก่อนปลูกผม

การเตรียมตัวก่อนทำหัตถการต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากเนื่องจากจะส่งผลกระต่อตัวคนไข้ระหว่างการผ่าตัด หรือหลังการผ่าตัดได้ ดังนั้นควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นดังนี้ค่ะ

  1. หากมีโรคประจำตัว หรือมีการรับประทานยารักษาโรคอยู่ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบการเข้ารับการผ่าตัด 
  1. งดวิตามินอาหารเสริม ที่มีส่วนผสมของน้ำมันทุกชนิดอย่างน้อย 10 – 14 วันก่อนการผ่าตัด เนื่องจากจะส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือดขณะผ่าตัด
  1. งดสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดอย่างน้อย 48 ชั่วโมง ก่อนการปลูกผม
  1. งดการใช้ Rogaine หรือ (minoxidil) อย่างน้อย 7 วัน ก่อนการผ่าตัด เนื่องจากเป็นสารที่ช่วยในการเจริญเติบโตของเส้นผม 
  1. ในวันผ่าตัดควรใส่เสื้อที่ผ่าด้านหน้า เนื่องจากหลังการผ่าไม่ควรสวมเสื้อผ่านทางศีรษะ เพื่อป้องกันการกระทบบริเวณที่ทำการปลูกผม
  2. งดแต่งหน้า และจัดแต่งทรงผมในวันที่ผ่าตัด
ขั้นตอนการปลูกผม

ขั้นตอนการปลูกผม

  1. การประเมิน และการปรึกษา ก่อนที่จะเริ่มการปลูกผมคนไข้จะต้องไปพบกับหมอ เพื่อทำการประเมินสภาพผม วางแผนการปลูหรากผม เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาตรงตามความต้องการของคนไข้
  1. โกนผมบริเวณที่จะปลูก และฉีดยาชาให้ทั่วบริเวณดังกว่า
  1. เมื่อยาชาออกฤทธิ์แพทย์จะทำการเจาะกราฟผม ด้วยเครื่องมือเจาะหนังศีรษะตรงรากผม
  1. ในระหว่างที่เซลล์รากผมอยู่ภายนอกร่างกาย แพทย์จะเก็บรักษากราฟผมด้วยน้ำยาเลี้ยงเซลล์ เพื่อให้คงคุณภาพของรากผมให้สมบูรณ์ที่สุด ก่อนปลูกถ่ายกลับเข้าไปบนศีรษะ
  2. จากนั้นแพทย์จะทำการเจาะรู และนำเซลล์รากผมใส่ลงในรูที่เจาะเตรียมไว้จนครบบริเวณที่จะปลูก
การดูแลตัวเองหลังปลูกผม

การดูแลตัวเองหลังปลูกผม

การปลูกผมเป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างเล็ก แต่สิ่งสำคัญคือต้องดูแลตัวเองอย่างถูกต้องหลังการผ่าตัดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ควรดูแลตัวเองอย่างเคร่ง และปฏิบัติตาคำสั่งแพทย์ดังนี้ค่ะ

  1. หลังการปลูกผมควรพันผ้าทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ไม่ควรจับ แกะ เกา ซับเลือด  เนื่องจากรากผมจะยังไม่เชื่อมติดกับผิวหนังใหม่ที่พึ่งปลูกลงไป 
  2. ใส่ผ้ารัดศีรษะไว้ให้ครบกำหนดเวลาตามที่หมอแจ้ง โดยตอนนอนก็จำเป็นต้องใส่
  3. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทำให้ความดันร่างกายเพิ่มขึ้น และจะกระตุ้นให้เลือดออกได้ง่าย
  4. หลีกเลี่ยงการให้ศีรษะถูกแสงแดดโดยตรงเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ หากต้องออกจากบ้านแนะนำให้สวมหมวกผ้าที่มีความโปร่ง ไม่อับ ไม่รัด หรือกดทับบริเวณแผล 
  5. งดออกกำลังกาย และกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายหนัก ๆ เนื่องจากหากร่างกายเกิดความดันเพิ่มขึ้นจะดันให้กราฟผมหลุดได้ค่ะ
วิธีป้องกันผมกลับมาร่วงซ้ำ

วิธีป้องกันผมกลับมาร่วงซ้ำ

  • ดูแลหนังศีรษะให้สะอาดและแข็งแรง หนังศีรษะที่สะอาด แข็งแรงจะช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียและเชื้อราที่อาจทำให้ผมร่วงได้  โดยการสระผมด้วยแชมพู และครีมนวดผมที่อ่อนโยน หลีกเลี่ยงการสระผมบ่อยเกินไป และใช้ความร้อนกับผมให้น้อยที่สุด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารที่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อเส้นผม เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินบี และวิตามินซี จะช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรง และลดการหลุดร่วงได้ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ นม ผักใบเขียว ถั่ว ธัญพืช ผลไม้ ผักผลไม้สีแดง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน สามารถทำให้ผมร่วงได้ โดยดื่มน้ำเปล่าแทน ชาสมุนไพร หรือน้ำผลไม้
  • จัดการกับความเครียด ความเครียดสามารถทำให้ผมร่วงได้ คุณสามารถจัดการกับความเครียดได้โดยการออกกำลังกาย ฝึกโยคะ ฝึกสมาธิ หรือทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายอื่น ๆ
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่อ่อนโยน ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่อ่อนโยนจะไม่ทำให้หนังศีรษะระคายเคือง ซึ่งอาจทำให้ผมร่วงได้ คุณสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่อ่อนโยนที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ เช่น ว่านหางจระเข้ น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันโจโจบา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save