เชื่อว่าหลายคนไม่ว่าจะคุณผู้หญิง หรือคุณผู้ชายล้วนก็มีปัญหาบริเวณหนังศีรษะกันทั้งนั้น ปัญหาหนังศีรษะ เป็นอีกอุปสรรคที่กวนใจใครหลายคน ซึ่งเป็นพบได้ในทุกเพศทุกวัยไม่ว่าจะเป็น การเกิดรังแค, ผิวบริเวณศีรษะอักเสบ, เชื้อรา, ผมขาดหลุดร่วง ล้วนเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ และความมั่นใจในการชีวิตประจำวัน สำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีแก้อาการเหล่านี้ ในบทความนี้มาดูกันค่ะว่ามีปัญหาอะไรบ้างที่พบได้บ่อย มีสาเหตุมาจากอะไร และต้องแก้ไขยังไง
ปัญหาหนังศีรษะที่พบบ่อย
หนังศีรษะเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย มีหน้าที่ปกป้องสมอง เส้นประสาทจากสิ่งแปลกปลอม มีหน้าที่ผลิตน้ำมันที่ช่วยหล่อลื่นเส้นผม ปัญหาบริเวณศีรษะสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น รังแค ผิวบริเวณศีรษะแห้ง ผิวหนังอักเสบ เชื้อราที่บริเวณศีรษะ สะเก็ดเงิน และโรคผมร่วง
ปัญหาเกี่ยวกับเส้นผมสามารถรักษาได้หลายวิธี ซึ่งการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหาหนังศีรษะ บางชนิดสามารถรักษาได้ด้วยยาทา หรือยารับประทาน บางชนิดอาจต้องรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การฉายแสง การเลเซอร์ หรือการผ่าตัด หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของอาการ และรับการรักษาที่ถูกต้อง
เชื้อราบนหนังศีรษะ
เชื้อราบนหนังศีรษะ หรือที่เรียกกันว่า tinea capitis เกิดจากเชื้อราที่ชื่อว่า dermatophytes ซึ่งอาศัยอยู่บนผิวหนัง และเส้นผม ส่งผลทำให้เกิดอาการคัน แดง บวม อาจทำให้เกิดผื่นแดง สะเก็ดได้ เชื้อราบนหนังศีรษะสามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรค เช่น การสัมผัสกับผม หมวกของคนที่เป็นเชื้อรา อาการนี้สามารถรักษาได้ด้วยยาทาต้านเชื้อรา และยากินต้านเชื้อรา สิ่งสำคัญคือต้องใช้ยาต้านเชื้อราตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ
ลักษณะเชื้อราบนหนังศีรษะ
ลักษณะอาการของโรคนี้ จะคล้ายกับรังแค หลายคนจึงมักจะมองข้าม ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับเชื้อมักจะแสดงอาการภายใน 2 สัปดาห์ โดยอาการจะแสดงออกได้หลายอาการ เช่น ผมมร่วง ผื่นขึ้นบริเวณหนังศีรษะ แห้ง ลอก ในบางรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีไข้ต่ำ ๆ ร่วมด้วยค่ะ
สาเหตุการเกิดเชื้อรา
- การสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรค
- การสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงที่เป็นโรค
- การสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อรา เช่น หมวก ผ้าเช็ดตัว แปรงหวี
- ระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ
- การบาดเจ็บที่หนังศีรษะ
- เหงื่อออกมากเกินไป
- สภาพอากาศ
- การใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์
รังแค ( Dandruff )
รังแคเป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่หนังศีรษะ เกิดจากการลอกตัวของเซลล์ผิวชั้นนอกของผิวบริเวณศีรษะมากเกินไป รังแคสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่มักพบในผู้ที่มีอายุระหว่าง 12 ถึง 50 ปี รังแคไม่ได้เป็นโรคติดต่อ และไม่ได้เกิดจากความสกปรก
ลักษณะอาการ
เป็นขุยสีขาว หรือสีเทาที่เกาะอยู่บนบริเวณเส้นผม รังแคสามารถหลุดร่วงเป็นฝอย ๆ กระจายไปทั่วศีรษะ และไหล่ รังแคจะทำให้เกิดอาการคันที่ศีรษะได้ รังแคเป็นภาวะที่พบได้ทั่วไป ซึ่งสามารถรักษาได้ค่ะ
สาเหตุที่เกิดรังแค
- เชื้อราที่ชื่อ Malassezia globosa
- ฮอร์โมน เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้ผิวหนังผลิตไขมันมากขึ้น จึงเอื้อต่อการแพร่เชื้อ
ราทำให้เกิดรังแค
- สภาพอากาศ และอุณหภูมิก็มีส่วนในการเกิดรังแคเช่นกันค่ะ
- ความเครียด สามารถกระตุ้นการเกิดรังแคได้ค่ะ
- การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่แรงเกินไป
- พฤติกรรมการสระผม อาจเกิดจากการสระผมไม่บ่อยพอ
- โรคผิวหนังบางชนิด
โรคหนังศีรษะอักเสบ
เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุดชนิดหนึ่ง มักพบในบริเวณศีรษะ โรคหนังศีรษะอักเสบเกิดจากความผิดปกติของต่อมไขมันที่ผลิตน้ำมันมากเกินไป ทำให้เกิดผื่นแดง คัน และลอกเป็นขุย ความรุนแรงของโรคอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย ในขณะที่บางคนอาจมีอาการรุนแรงมาก
ลักษณะอาการ
- มักมีอาการคัน แดง มีขุยสีขาว หรือสีเหลืองลอกออกมา ในบางรายมีอาการผมร่วง และบวมร่วมด้วย
สาเหตุที่เกิดโรคหนังศีรษะอักเสบ
- การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมบางชนิด ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมบางชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมัน หรือสารกันเสียสูง อาจทำให้โรคหนังศีรษะอักเสบกำเริบได้
- การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ อากาศที่เย็น และแห้งสามารถกระตุ้นให้เกิดการอักเสบได้ค่ะ
- พันธุกรรม บางรายอาจมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้ ซึ่งสามารถส่งต่อทางพันธุกรรมได้ค่ะ
โรคสะเก็ดเงินบนหนังศีรษะ
โรคสะเก็ดเงินบนหนังศีรษะเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดผื่นแดง แห้ง ลอก เป็นขุย มักพบบริเวณศีรษะ แต่อาจพบที่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ เช่น ข้อศอก หัวเข่า มือ เท้า เล็บ โรคสะเก็ดเงินบนศีรษะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาได้ด้วยยาทา ยากิน หรือการฉายแสง
ภาวะผมบางจากกรรมพันธ์ุ
ภาวะผมบางจากกรรมพันธุ์ ( Androgenic alopecia ) เป็นโรคผมร่วงที่พบได้บ่อยที่สุดชนิดหนึ่ง มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สาเหตุของภาวะผมบางจากกรรมพันธุ์เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ที่เปลี่ยนเป็นฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT) ซึ่งจะทำให้รูขุมขนบนหนังศีรษะฝ่อลง เส้นผมสั้นลง อ่อนแอลง ขาดหลุดร่วงได้ง่าย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย อาการของภาวะผมบางจากกรรมพันธุ์ในผู้ชาย ได้แก่ ผมร่วงบริเวณหน้าผาก และขมับ เป็นรูปตัว M หรือ U ส่วนอาการของภาวะผมบางจากกรรมพันธุ์ในผู้หญิง ได้แก่ ผมร่วงบริเวณกลางศีรษะ เป็นรูปตัว O
โรคผมร่วงเป็นหย่อม
โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata) เป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก มีลักษณะเป็นวงกลมเล็ก ๆ บนศีรษะหรือบริเวณอื่นของร่างกาย โรคนี้เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายรากผมทำให้ผมร่วง โรคนี้สามารถรักษาได้ แต่อาจกลับมาเป็นซ้ำได้ค่ะ
ลักษณะอาการ
- พบผมร่วงเป็นหย่อม ๆ บนศีรษะ หรือบริเวณอื่นของร่างกาย
- ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ อาจเป็นวงกลม วงรี หรือรูปอื่น ๆ
- เส้นผมที่ร่วงอาจหลุดออกทั้งเส้น หรือหลุดออกแค่รากผม
- โรคนี้อาจทำให้ผมบางลง หรืออาจทำให้ผมร่วงทั้งหมด
สาเหตุเกิดโรคพบร่วงเป็นหย่อม
โรคผมร่วงเป็นหย่อมในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ในทางวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายรากผม
วิธีดูแลสุขภาพหนังศีรษะ
หนังศีรษะเป็นอวัยวะที่บอบบางมาก การดูแลสุขภาพศีรษะอย่างเหมาะสมจะช่วยป้องกันปัญหาต่าง ๆ เช่น รังแค คันศีรษะ และผมร่วงได้ต่อไปนี้คือเคล็ดลับการดูแลสุขภาพบริเวณศีรษะ
- สระผมให้บ่อยพอ สระผมอย่างน้อย 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยใช้แชมพู และครีมนวดสูตรอ่อนโยน
- ใช้น้ำอุ่นในการสระผม น้ำอุ่นจะช่วยขจัดสิ่งสกปรก และความมันออกจากผิวหนังโดยไม่ทำให้ ผิวหนังบริเวณศีรษะแห้งเกินไป
- หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนกับเส้นผม เนื่องจากความร้อนสามารถทำให้ผิวบริเวณศีรษะแห้ง และระคายเคืองได้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ เช่น วิตามิน A, C, E, B3, B5, B6, B12, ไบโอติน และสังกะสี จะช่วยบำรุงสุขภาพหนังศีรษะ และเส้นผมให้แข็งแรง
- พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยรักษาสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งมีผลต่อสุขภาพบริเวณศีรษะ และเส้นผม
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากสารในบุหรี่ และแอลกอฮอล์สามารถทำลายสุขภาพศีรษะได้ค่ะ
หากคุณมีปัญหาสุขภาพหนังศีรษะ เช่น รังแค คันบริเวณศีรษะ หรือผมร่วง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และรักษาที่เหมาะสม
แนะนำผลิตภัณฑ์บำรุงหนังศีรษะ
-
วิตามินบำรุงผม
การบำรุงผมด้วยวิตามินสามารถช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง และสวยงามของเส้นผมได้ นอกจากนี้ยังช่วยในกระบวนการเจริญเติบโตของเส้นผม ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์ หรือเครื่องมือร้อนในการจัดแต่งทรงผม แต่ควรทราบว่าวิตามินไม่สามารถแทนที่การดูแลเส้นผมที่ถูกต้องด้วย การรับประทานวิตามินบำรุงผมควรเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลที่เหมาะสมเพื่อสุขภาพของเส้นผมของคุณ
-
แชมพูบำรุงหนังศีรษะ
แชมพูบำรุงหนังศีรษะเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่ออกแบบมาเพื่อทำความสะอาดพร้อมบำรุงหนังศีรษะ มักประกอบด้วยส่วนผสมจากธรรมชาติ เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก และว่านหางจระเข้ ส่วนผสมเหล่านี้ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ปลอบประโลมผิวบริเวณศีรษะ บรรเทาอาการคัน ระคายเคือง นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม ป้องกันผมร่วง
แชมพูบำรุงหนังศีรษะเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการ ผิวบริเวณศีรษะแห้ง คัน รังแค ผมร่วง หรือผมเสีย สามารถใช้ได้ทุกวัน หรือสัปดาห์ละสองครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละคน
-
เซรั่มปลูกผม
เซรั่มปลูกผม หรือยาปลูกผมคือผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่ช่วยให้เส้นผมแข็งแรง และเติบโตได้ดีขึ้น มักมีส่วนผสมของสารอาหาร กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดการอักเสบของหนังศีรษะ ส่งผลให้เส้นผมแข็งแรงขึ้น หลุดร่วงน้อยลง และงอกใหม่ได้ดีขึ้น
เซรั่มปลูกผมมีหลายยี่ห้อ หลายสูตรให้เลือกแตกต่างกันตามปัญหาหนังศีรษะ โดยจะเลือกจากสภาพผมและปัญหาผมร่วงของแต่ละบุคคล ผู้ที่มีอาการผมร่วงมากหรือผมร่วงจากกรรมพันธุ์ อาจต้องใช้เซรั่มปลูกผมที่มีส่วนผสมของสารออกฤทธิ์ที่เข้มข้น ซึ่งเซรั่มปลูกผมผู้ชาย และเซรั่มปลูกผมผู้หญิงก็มีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีฮอร์โมนที่แตกต่างกันค่ะ
เซรั่มปลูกผมยี่ห้อไหนดี
ขอแนะนำผลิตภัณฑ์เซรั่มปลูกผมของโรงพยาบาลมาสเตอร์พีซ ซึ่งเซรั่มตัวนี้เป็นที่ได้รับการยอมรับกันปากต่อปากว่าคุ้มค่า คุ้มราคา ในส่วนของสารสกัดหลักในเซรั่มนั้นประกอบไปด้วย ดอกคามิเลียสีแดง ที่อุดมไปด้วยกรดเลโออิกที่มีคุณสมบัติช่วยให้ความชุ่มชื่นแก่ผิว และเส้นผม แถมยังมีวิตามิน A, B, D, C โอเมก้า 3, 6, 9 ที่ช่วยปรับสมดุลหนังศีรษะ ลดผมขาดหลุดล่วง พร้อมบำรุงผมให้เจริญเติบโตอย่างแข็งแรงด้วยค่